ตลาดอีบุ๊ค ไม่ได้มาทำให้เกิด disruption ตลาดหนังสือเล่มกระดาษ

2015 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตลาดอีบุ๊ค ไม่ได้มาทำให้เกิด disruption ตลาดหนังสือเล่มกระดาษ




ย้อนกลับไปราวๆ 7-8ปีก่อนที่สตีฟ จ๊อบ เปิดตัว iPad เพื่อใช้สนับสนุนการอ่านด้วยจอใหญ่กว่า iPhone ขณะเดียวกัน Kindle ของ Amazon ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
.
ผมจำได้ว่ามีข่าวยอดขายของอีบุ๊คบน Amazon แซงหน้า printed book เป็นครั้งแรกของโลกจนเป็นข่าวใหญ่โต ในเวลานั้นสำนักพิมพ์บ้านเราก็เริ่มปรับตัว บางรายลงทุนจ้างทำ Application ที่เป็นเหมือน slide powerpoint มากกว่าการเป็นหนังสือ นำเสนอความหวือหวาของ graphic animation ต่างๆเพียงเพื่อให้มันสามารถทำงานมากกว่าหนังสือเล่มได้ และอีกหลายๆรายกำลังศึกษาว่า iBooks Author ทำงานอย่างไร? จะขายหนังสือแบบ online ที่ไหนดี? จะผลิตไฟล์ PDF หรือ ePub ดี? เพราะกลัวตกขบวนรถไฟดิจิทัลสายนี้
.
ผมก็มองเป็นเรื่องที่ดีที่เกิดกลไกการปรับตัวสำหรับรับสิ่งใหม่ แต่ก็ไม่ควรกลัวมากไปจนคิดว่าหนังสือเล่มจะตายหรือหายไปจากโลกแน่ๆ เพราะอย่างไรคุณค่าของหนังสือแท้จริงคือ Content , ความรู้ที่อยู่ในตัวมัน หาใช่เปลือกที่ห่อหุ้มหรือรูปแบบการนำเสนอแบบใหม่
.
อ้าว! แล้วอีบุ๊คมันไม่ได้ดีกว่าการอ่านหนังสือแบบเดิมเหรอ? คนที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับตลาดหนังสือ หลายคนถามเหมือนกันแบบนี้
ต้องตอบว่ามีทั้งดี และไม่ได้ดีไปกว่ากัน
.
สิ่งที่ดีคือ คุณสามารถพกหนังสือหลายๆร้อยถึงพันเล่มไปอ่านตามที่ต่างๆได้, คุณสามารถซื้อหนังสือจากเตียงนอนได้, อยากขยายตัวหนังสือให้ใหญ่เล็กตามใจได้, มีAnimationสวยงามในหนังสือบางแบบ, ค้นหาคำศัพท์ขยายความต่อใน google ได้, ค้นหาคำที่ต้องการในเล่มได้ทันที
.
สิ่งที่ไม่ดี คือ หลายคนบ่นแสบตากับการอ่านบน iPad (ยกเว้นจอ e-ink ของ kindle) วันๆดู facebook อ่าน line จนเมื่อยลูกตาแล้วก็ไม่อยากมาจ้องอ่านอีบุ๊คต่อ, ไม่มี device ไม่สามารถอ่านได้, ไม่มีไฟฟ้า อยู่ดีๆแบตหมด ก็อ่านไม่ได้, ไม่มีสัมผัสการพลิกกระดาษ, ใช้เป็นของสะสมไม่ได้, หยิบยื่นให้กันเสมือนของขวัญไม่ได้
.
จะเห็นว่าด้วยลักษณะเฉพาะตัวอีบุ๊คก็ยังมีข้อจำกัดไม่สามารถจะมาใช้ทดแทนหนังสือเล่มกระดาษได้ทั้งหมด ไม่เหมือนการ disruption เรื่องต่างๆ ที่สิ่งใหม่ทำผลลัพธ์ได้เกือบหรือเทียบเท่าสิ่งเก่า
.
แล้วสำนักพิมพ์ควรจะปรับตัวอย่างไรล่ะ? ขอยกประเด็นยอดขายหนังสือพิมพ์และแมกกาซีนกำลังดิ่งลงเหวชิงกันปิดตัวออกไปก่อนนะครับ สิ่งเหล่านี้คือสื่อ ทำ content เร็วเท่าสื่อ online ไม่ได้อยู่แล้ว ขอพูดถึงเรื่องตลาดหนังสือเล่มเป็นหลัก ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ ก็ขายมันทั้ง2อย่างนั่นแหละ ไม่ต้องกลัวว่า ขายอีบุ๊คแล้วจะมาช่วงชิงยอดของหนังสือเล่มไป ปรับตัวก่อนได้เปรียบ และทำการตลาด cross กันได้จะดีมาก ซื้อ อีบุ๊คได้ส่วนลดหนังสือเล่ม ซื้อหนังสือเล่มได้ส่วนลดอีบุ๊ค อะไรแบบนี้ หนังสือบางอย่างเช่นการสอนเขียนโปรแกรมหรือแนวเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่ lifetime contentก็ไม่ต้องจัดพิมพ์ให้เสียค่ากระดาษ ค่าแท่นพิมพ์เพราะ shelf life ไม่นาน จัดทำแบบอีบุ๊คได้
.
ส่วนหนังสือที่มี content อมตะ มีความรู้ในนั้น มีงานศิลปะ ไม่ลดค่าเมื่อเวลาผ่านไป ก็ควรจัดทำเป็นเล่มขึ้นปกอย่างดี ขายเป็นของสะสมก็ยังได้ เพราะ shelf life ยาว หรือจะออก digital edition สำหรับคนสะดวกอ่านบน device ก็สาสารถเพิ่มยอดขายได้อีก
ที่สำคัญมากที่สุดไม่ใช่เรื่องที่พูดไปทั้งหมดครับ นิสัยรักการอ่านต้องมาก่อนเรื่องใดๆ ปลูกฝังโดยครอบครัว โรงเรียน และรัฐบาล(ยังไม่เคยเห็นรัฐบาลไหนในไทยทำได้จริงๆ ) ทุกวันนี้คนซื้อหนังสือมากมายจากงานขายหนังสือราคาถูกปีละ2ครั้ง แต่อ่านจริงกี่เล่มไม่มีใครรู้ได้ ยอดขายแปรผันตรงกับการรักการอ่านที่มากขึ้นหรือไม่? มีคนซื้อแล้วทำไมจำนวนสำนักพิมพ์ถึงปิดตัวเพิ่มขึ้น? ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามต่อไป
.
สุดท้ายขอแชร์ข่าว ชาวจีนรักการอ่านมีมากขึ้นเพราะการสนับสนุนจากทางการ และขับเคลื่อนกันเองด้วยระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จำนวนสำนักพิมพ์ใหม่เกิดขึ้นมากมาย500กว่าสำนักพิมพ์
.
เค้าไม่กลัวว่าเทคโนโลยีใหม่จะ disrupt ของเดิม แถมปรับตัวแล้วนำมันมาเพิ่มยอดขายไปกับตลาดเดิมนี่ไงครับ

อ้างอิง
https://www.facebook.com/XinhuaNewsAgency.th/posts/2219771854905491?__xts__[0]=68.ARCzmmKrUFSuDqrQJ8gzTyHKA9mULOgPjRdtZiMLEptXIMsN7TR0Vp1PN1DI4jwmGEFXExNyYmgV5-pCKU6p5x2GW7k2TuUEElc2qTpvfDmhJ6H_H56fEe0ImVzn8OTH9eiK9IWO82FnAAJLWkuR8YEbAWXdSSqvhAYkKZkwwBb5r0wqxLsYC_HpCvBzw-Gg347n825g_AdiPpna2ARYbWTgtx95BjOhrbJAw4veYF1_FtitipBXwPyiyaDLvu-qY_s57YIzIxilnudm5eYw8c8nbKBP7y-9GFNDIbnkEijSkbeAkGeGqUvGiEwPwedCqYSFl8lygwtLUuhPeIbBjNK5cuQd&__tn__=-R

ติดตามเพจ bookdose
https://www.facebook.com/bookdose/posts/2169753263034763?__tn__=-R

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้